การลงทุนเพื่อสุขภาพ

การลงทุนเพื่อสุขภาพ

การลงทุนเพื่อสุขภาพ

การลงทุนที่ให้ผลตอบแทนดี ย่อมส่งผลดีต่อสถานะทางการเงิน แต่ถ้าเราละเลยการดูแลสุขภาพซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่มีค่ามากที่สุด กำไรและผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุน ก็อาจจะจ่ายไปเกือบทั้งหมดกับการรักษาโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากภาวะความเสื่อมโทรมของร่างกาย ซึ่งโรคต่างๆ เหล่านี้สามารถป้องกันและลดความเสี่ยงได้ เช่น โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ถุงลมโป่งพอง และโรคอ้วน ถ้าเราสามารถสร้างความสมดุลระหว่างผลตอบแทนกำไร กับการดูแลสุขภาพ ก็จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย เป็นการใช้ชีวิตอย่างชาญฉลาด เพราะถ้าเรามีสุขภาพดี เราก็จะมีโอกาสดีดีอีกหลายอย่างในชีวิต

ถ้าเราศึกษาเกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพจากสื่อต่างๆ ทุกคนน่าจะทราบดีอยู่แล้วว่า หลักการดูแลสุขภาพมีอะไรบ้าง แต่คำถามก็คือ ทำไมแต่ละปีหลายคนยังป่วยอยู่ ผมเองก็เป็นคนหนึ่งที่สนใจการดูแลรักษาสุขภาพมานาน หลังจากที่ได้สังเกตว่าตัวเองป่วยค่อนข้างบ่อย คือป่วยเป็นไข้เฉลี่ยปีละ 2-3 ครั้ง นอกจากนี้ก็เป็นภูมิแพ้ด้วย เวลาเป็นไข้จะมีอาการรุนแรงและทุกข์ทรมานกว่าคนทั่วไป เพราะหายใจลำบาก จะทำอะไรก็ไม่สะดวก ก็เลยเริ่มศึกษาหาความรู้วิธีการดูแลสุขภาพอย่างไรไม่ให้ป่วยอย่างจริงจัง ลองผิดลองถูก ตั้งแต่การเลือกรับประทานอาหาร ซื้ออาหารเสริมมารับประทาน ซื้อเครื่องกรองอากาศมาใช้ ออกกำลังกาย และฝึกสมาธิ

จนกระทั่งมาพบกับหลักสำคัญในการดูแลรักษาสุขภาพเพื่อไม่ให้ป่วย จากเมื่อก่อนผมป่วยเป็นไข้ปีละ 2-3 ครั้ง แต่ปัจจุบันผมสามารถใช้ชีวิตแบบคนปกติได้อย่างน้อย 2-3 ปีโดยที่ไม่ป่วยเป็นไข้เลย สถิติสูงสุดที่ผมไม่ป่วยเป็นไข้เลยก็คือ 4 ปี 6 เดือน เรื่องนี้ทำให้ผมค้นพบว่า การเจ็บป่วยของคนเราส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต จริงๆ แล้วหลักการสำคัญในการดูแลสุขภาพเพื่อไม่ให้ป่วย ก็คือ "การรู้จักใช้ปัญญา" และควรใช้หลัก “วิธีคิด” นำ “วิธีการ” เพราะว่า "วิธีการ" ใครๆ ก็รู้ ใครๆ ก็สามารถหาความรู้ตามสื่อต่างๆ ได้เหมือนกัน แต่ปัญหาคือ “ทำไมหลายคนยังมีภูมิต้านทานน้อยและป่วยบ่อยๆ” เพราะฉะนั้น การใช้ปัญญา คือหัวใจของความสำเร็จในการมีสุขภาพดี

อาหารเพื่อสุขภาพ

แนวคิดการดูแลสุขภาพเพื่อไม่ให้ป่วย มีหลักการที่สำคัญดังนี้

  • รู้จักการใช้ปัญญา ปัญหาส่วนใหญ่ของคนเราก็คือ "ไม่มีเวลา" คนเราแต่ละคน ย่อมมีหน้าที่ อาชีพ การงาน และเวลาในการใช้ชีวิตที่แตกต่างกัน เป็นเรื่องธรรมดาที่แต่ละคนมี "ข้อจำกัดของเวลา" ถ้าเราสังเกตุการใช้เวลาในแต่ละวันของเรา จะพบว่า คนเรามักจะ "มีเวลา" ให้กับสิ่งที่ตนเองให้ความสำคัญ เพราะฉะนั้น หากว่าเราใช้เวลาไปกับสิ่งที่ไม่ค่อยมีประโยชน์ เราก็จะเสียเวลา และเสียโอกาสในสิ่งที่มีประโยชน์อีกหลายอย่างในชีวิต แต่ถ้าเรารู้จักการบริหารเวลาให้มีประสิทธิภาพ ลองจัดลำดับความสำคัญใหม่ว่า ระหว่างสิ่งที่เราอยากทำ แต่ไม่ค่อยมีประโยชน์กับสุขภาพ และสิ่งที่เราควรทำ แต่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ อะไรจะมีความคุ้มค่ามากกว่ากัน เช่น การให้ความสำคัญกับอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ การพักผ่อนให้เพียงพอ การบริหารความเครียด และการออกกำลังกายให้เพียงพอ

  • เปลี่ยนวิธีการที่เรารู้อยู่แล้ว มาเป็นการลงมือทำ ปัญหาหลักของคนส่วนใหญ่คือ มีความรู้แต่ไม่ได้ลงมือทำ เพราะมัวแต่ไปให้ความสำคัญกับสิ่งอื่น เพราะยังไม่ตระหนักถึงปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ และขาดทัศนคติที่ถูกต้อง การมีความคิดเชิงบวก ความคิดสร้างสรรค์ จะช่วยให้เรามีทัศนคติที่ดีในการใช้ชีวิต ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราไม่ค่อยชอบทานผัก ก็ต้องคิดหาวิธีการ หรือกุศโลบายต่างๆ ที่จะช่วยทำให้เราต้องทานผัก ผลไม้มากขึ้น เช่น ลองเปรียบเทียบระหว่างถ้าเราป่วยแล้วกินยา ซึ่งยาส่วนใหญ่ก็จะมีรสชาติที่ไม่อร่อย แต่จะดีกว่ามั๊ย ถ้าเราเลือกทานผัก ผลไม้ ซึ่งสามารถปรุงแต่งให้มีรสชาติอร่อยตามที่เราต้องการ แล้วสามารถลดความเสี่ยงจากการเจ็บป่วยได้

  • ฝึกระเบียบวินัยในการรับประทานอาหาร โดยพยายามรับประทานอาหารให้ตรงเวลา หรืออาจจะปรับเวลาให้ยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม เพราะบางครั้งเวลาในแต่ละวันของเราอาจจะไม่ลงตัวเสมอไป เพื่อให้ระบบการทำงานของร่างกายทำงานได้อย่างลงตัว

  • ถ้าเราเป็นคนที่ไม่ค่อยชอบทานผัก ผลไม้ ควรเน้นรับประทานอาหารที่ส่งเสริมให้ทานผัก ผลไม้มากขึ้น เช่น น้ำพริก ผัดกระเพรา สลัดผัก และเมนูอาหารต่างๆ ที่เราชอบซึ่งมีผักและผลไม้เป็นส่วนผสม

  • รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพให้บ่อยขึ้น หรือบางคนอาจจะเรียกว่า "การกินอาหารให้เป็นยา" เช่น สมุนไพร ผัก ผลไม้ที่มีวิตามินสูง กระเทียม น้ำมันปลา ตะไคร้ กระชาย ขิง ขมิ้น หอมหัวใหญ่ กะหล่ำปลี แครอท บล็อกโคลี่ หรืออาหารเสริม ซึ่งอาหารเหล่านี้มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง

  • หมั่นศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ เพราะงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์อาจมีการเปลี่ยนแปลงหรือมีงานวิจัยใหม่ๆ โดยควรเลือกอ่านจากเว็บไซต์ที่มีความน่าเชื่อถือ มีเอกสารอ้างอิงทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เราสามารถศึกษาข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติม นอกจากนี้ บางครั้ง ความรู้ใหม่ๆ ก็ได้มาจากประสบการณ์และการศึกษาด้วยตัวเอง

  • อาหารเพื่อสุขภาพ

    หลักการดูแลสุขภาพ

    1. สุขภาพจิต

    ผมจะให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตเป็นอันดับหนึ่ง เพราะจากประสบการณ์จริง การจัดการความเครียดจะช่วยลดความเสี่ยงจากการเจ็บป่วยได้ในหลายๆมิติ ทั้งปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อสุขภาพจิตของเราเอง เราต่างก็เคยได้ยินการเปรียบเปรยเกี่ยวกับการมีสุขภาพที่ดีว่า “ถ้าสุขภาพร่างกายดี สุขภาพจิตก็ดีตามไปด้วย และถ้าหากว่าสุขภาพจิตดี สุขภาพทางร่างกายก็ดีตามไปด้วยเช่นกัน” การจัดการกับความเครียด สามารถทำได้ตั้งแต่วิธีการพื้นฐานง่ายๆ เช่น การเดินทางท่องเที่ยวและหาที่พักตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ที่ให้ประสบการณ์ที่ดี เช่น ที่พักกรุงเทพ ที่พักพัทยา ที่พักเชียงใหม่ และที่พักภูเก็ต การออกไปเดินเล่น ไปออกกำลังกายในสวนสาธารณะ โดยเฉพาะการวิ่ง จะช่วยให้ร่างกายหลั่งสาร Endophin หรือสารที่ช่วยให้เรารู้สึกมีความสุขในระหว่างออกกำลังกายและหลังออกกำลังกาย นอกจากนี้ การสวดมนต์ และการฝึกสมาธิ เราสามารถเริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการนั่งสมาธิสัก 5-10 นาทีก่อนนอน แล้วก็ค่อยๆ เพิ่มเวลาขึ้นเรื่อยๆ ตามความชำนาญและประสบการณ์ของแต่ละคน การนั่งสมาธิให้ได้วันละ 15-25 นาที ก่อนนอน จะช่วยส่งเสริมทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตได้เป็นอย่างดี

    2. อากาศ

    ให้ความสำคัญกับการจัดการคุณภาพอากาศในบริเวณที่พักอาศัย เช่น รักษาความสะอาด ใช้เครื่องกรองอากาศ เพื่อให้ร่างกายได้รับออกซิเจนได้อย่างเต็มที่ ซึ่งจะส่งผลดีต่อระดับออกซิเจนในเลือด เมื่อร่างกายและสมองได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ ก็จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อสมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อวัยวะ และระบบต่างๆ ในร่างกายก็จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน พยายามรักษาความสะอาดบริเวณที่อยู่อาศัย ควรใช้เครื่องกรองอากาศที่มีคุณภาพดี เพื่อให้เรามีอากาศบริสุทธิ์ในการหายใจ ป้องกันฝุ่น และมลภาวะต่างๆ เช่น ฝุ่น PM 2.5 ควัน เชื้อไวรัส แบคทีเรีย สารก่อโรคภูมิแพ้ และเชื้อโรคต่างๆ เพื่อรักษาระดับอ็อกซิเจนในเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เมื่อเรามีระดับออกซิเจนในร่างกายที่ดีระหว่าง 94-100% หัวใจก็จะไม่ทำงานหนัก นอกจากนี้ควรหาเวลาไปฟอกปอด โดยการไปในสถานที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ ในสวนสาธารณะที่เต็มไปด้วยต้นไม้หลากหลายพันธุ์ หรือเดินทางท่องเที่ยวตามสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติ หรือทำก่อนและหลังจากออกกำลังกายในตอนเช้า แล้วหายใจเข้า-ออกลึกๆ อย่างน้อย 7-10 ครั้ง

    3. การดื่มน้ำ

    ดื่มน้ำสะอาดและมีแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการทำงานของร่างกาย โดยเฉพาะหัวใจ เพราะกล้ามเนื้อหัวใจต้องการแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับการควบคุมคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เมื่อคลื่นไฟฟ้าหัวใจดี หัวใจก็จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงที่นำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลว โดยพิจารณาใช้เครื่องกรองน้ำที่มีคุณภาพ เช่น เครื่องกรองน้ำ eSpring แต่ถ้าเราดื่มน้ำที่ไม่มีแร่ธาตุ มีข้อมูลจากงานวิจัยว่า สภาพความเป็นกรดของน้ำ จะทำให้อวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายคายแร่ธาตุต่างๆ ออกมาพร้อมกับปัสสาวะ เมื่ออวัยวะต่างๆ ขาดแร่ธาตุก็จะทำงานหนัก หลายๆ ท่านทราบดีอยู่แล้วว่าการดื่มน้ำให้เพียงพอกับที่ร่างกายต้องการ จะส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกาย แต่คำถามคือ เราควรดื่มน้ำวันละกี่มิลลิลิตร? โดยไม่ให้มากหรือน้อยเกินไป เพราะถ้าเราดื่มน้ำน้อยหรือมากเกินไปก็อาจจะส่งผลเสียต่อร่างกายได้ เช่น ถ้าเราดื่มน้ำมากเกินไป ก็จะส่งผลเสียต่อการรักษาสมดุลของโซเดียมและโพแทสเซียมในร่างกาย จริงๆ แล้วมีสูตรคำนวณ แต่ปัญหาคือ บางครั้งลืมและไม่สะดวก การคำนวณก็ต้องใช้เวลา และในแต่ละวันน้ำหนักของคนเรามีการแปรผัน เพื่อความสะดวกรวดเร็ว ผมจึงได้พัฒนาโปรแกรมคำนวณปริมาณน้ำที่ร่างกายคนเราต้องการแต่ละวัน มาให้ใช้กันแบบฟรีๆ ใช้งานง่ายมากและคำนวณได้ทันที เพียงใส่ตัวเลขน้ำหนักเป็นกิโลกรัมแล้วก็กดปุ่มคำนวณได้เลย คลิกเพื่อใช้โปรแกรมได้ที่ปุ่มนี้ >>>

    4. โภชนาการ

  • ในเรื่องอาหารการกิน ใช้หลักการกินแบบบูรณาการ คล้ายๆ กับการมองให้เห็นต้นไม้ทั้งต้น ไม่ใช่การมองเพียงแค่ส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นไม้ โดยให้ความสำคัญกับระบบการทำงานของหัวใจ ตับ ตับอ่อน ไต และระบบภูมิคุ้มกัน เพราะเป็นอวัยวะที่ต้องทำงานหนัก และพลังงานในระดับเซลล์ส่วนใหญ่สร้างมาจากโคคิวเท็น เพราะฉะนั้น สารอาหารที่เราควรให้ความสำคัญอันดับหนึ่งก็คือ Co-Q10
  • พื้นฐานสำคัญของการดูแลสุขภาพคือ เลือกอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบทั้ง 5 หมู่ เลือกอาหารที่สะอาด ถูกหลักอนามัย และซื้อจากร้านค้าหรือแหล่งที่มีความน่าเชื่อถือ
  • อาหารหลัก ผมจะเน้นรับประทาน ข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอรี่ และทานข้าวหอมมะลิสลับกันเป็นครั้งคราว นอกจากนี้ ควรเน้นทานขนมปังธัญพืช ธัญพืชจำพวกถั่ว ถั่วเปลือกแข็ง เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ และอัลมอนด์
  • หลีกเลี่ยงรับประทานอาหารที่มีไขมัน น้ำตาล และเกลือมากเกินไป เพื่อลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ เพราะจากข้อมูลทางการแพทย์ สารจำพวกเกลือ โซเดียมจะไปเกาะตามเซลล์เส้นเลือดต่างๆ ในร่างกาย ทำให้เส้นเลือดแข็งตัว และสูญเสียความยืดหยุ่น
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารแปรรูปประเภท ไส้กรอก ฮอทด็อก แฮม และอย่าทานเนื้อสัตว์มากเกินไป เพราะมีงานวิจัยยืนยันแล้วว่า การกินอาหารประเภทนี้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งอย่างมีนัยยะสำคัญ
  • เลือกรับประทานอาหารที่มีความหลากหลายทางโภชนาการ โดยเฉพาะการ ทานผัก ผลไม้ โปรตีน วิตามินและเกลือแร่ให้เพียงพอกับที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน หรือใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพื่อความสะดวกสบาย เพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลสุขภาพ ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง โรค NCDs เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ไขมันในเลือดสูง และโรคอ้วน เพราะเราจะได้รับสารอาหารครบถ้วนและครอบคลุมเพียงพอกับที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน ได้แก่ สารอาหารกลุ่มแมคโครนิวเทรียนท์ ไมโครนิวเทรียนท์ และไฟโตนิวเทรียนท์
  • 5. การพักผ่อน

    ให้ความสำคัญกับการพักผ่อนให้เพียงพอ ควรเข้านอนก่อน 4 ทุ่ม และตื่นประมาณตี 5 ไม่ได้หมายความว่าเวลาจะต้องเป๊ะๆ แต่เราสามารถปรับเวลาให้ยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม การพักผ่อนเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบของการมีสุขภาพดี ควรเริ่มเข้านอนก่อน 4 ทุ่ม เพราะเป็นช่วงที่ร่างกายกำลังซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ถ้าเป็นคนนอนค่อนข้างดึกเหมือนผม ก็จะใช้เทคนิคนั่งสมาธิก่อนนอน การฝึกสมาธิก็เป็นอีกหนึ่งแนวทางที่เปรียบเสมือนเป็นการลบไฟล์ขยะ หรือการ Deflagment ของคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะช่วยให้จิตใจ และสมองปลอดโปร่งขึ้น เมื่อตื่นเช้าขึ้นมาจะรู้สึกสดชื่น เมื่อเราสามารถตื่นเช้าได้ ก็จะมีเวลาในการออกกำลังกาย เพื่อรับบรรยากาศและอากาศดีๆ ในตอนเช้า นอกจากนี้ ในแต่ละวัน ยังมีสิ่งที่ดีๆ และมีคุณค่ารอให้เราค้นหาเพื่อชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

    6. การออกกำลังกาย

    การออกกำลังกาย จากประสบการณ์ของผมเอง ต้องออกกำลังกายให้ได้อาทิตย์ละ 3-5 วัน อย่างน้อยวันละ 30 นาที ซึ่งสามารถปรับความยืดหยุ่นได้

    การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ แบ่งออกเป็น 2 อย่างหลักๆ ได้แก่

    1. การออกกำลังกายแบบพื้นฐาน เป็นการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ด้วยการเดินเร็วๆ อย่างน้อยวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 5-6 วัน เป็นการออกกำลังกายที่ทุกคนสามารถทำได้ การออกกำลังกายด้วยการเดิน จะช่วยให้ร่างกายและปอดใช้ออกซิเจนในระหว่างออกกำลังกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    2. การออกกำลังกายตามความชอบ เช่น การวิ่งออกกำลังกาย เทเบิลเทนนิส ฟุตบอล ตะกร้อ แบตมินตัน บาสเก็ตบอล ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เป็นการออกกำลังกายโดยเล่นกีฬาที่เราชื่นชอบตามความถนัด แต่อาจจะมีความเสี่ยงและควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยหลักการพื้นฐานคือ ต้องมีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง และให้ได้อย่างน้อยวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 5-6 วัน

    เพราะฉะนั้น การออกกำลังกายที่ให้ประโยชน์ทั้งด้านสุขภาพกายและสุขภาพใจ ก็คือ เราควรจะออกกำลังกายแบบพื้นฐาน และออกกำลังกายตามความชอบควบคู่กับไป นอกจากนี้ การเล่นกีฬาตามความชอบและความถนัดของเราจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ในร่างกาย และกีฬาแต่ละประเภทก็ช่วยฝึกทักษะทางด้านความคิดและการแก้ปัญหาต่างๆ อีกด้วย

    อาหารเพื่อสุขภาพ

    7. การสอนให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน

    ในที่นี้จะยกตัวอย่างจากการวิ่งออกกำลังกายเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน จากประสบการณ์จริงที่ผมใช้มีดังนี้

  • นี่คือจุดแข็งในการดูแลสุขภาพที่ผมใช้มาหลายปี เป็นเคล็ดลับสุขภาพดีที่แตกต่างจากหลักการดูแลสุขภาพทั่วไปที่เราเคยเห็นตามสื่อต่างๆ ทั้งจากเว็บไซต์ ยูทูป และหลักการดูแลสุขภาพจากหมอทั่วไป หลักการสำคัญ คือ เวลาเจ็บป่วย ต้องเน้นทานอาหารที่เราชอบและมีประโยชน์ งดกินยาลดไข้ เวลาตัวร้อนต้องดื่มน้ำให้เพียงพอ เมื่ออาการดีขึ้น เวลานอนให้ห่มผ้าจนเหงื่อออก และออกกำลังกายหลังจากสร่างไข้แล้ว ขั้นแรก ต้องรู้จักประเมินตนเองว่า ร่างกายเรามีความพร้อมและแข็งแรงแค่ไหน มีโรคประจำตัวอะไรบ้าง โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคความดัน เบาหวาน และโรคหัวใจ ต้องมีการตรวจสุขภาพ และมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ เพื่อไม่ให้มีการออกกำลังกายที่หักโหมเกินไป ซึ่งจะส่งผลเสียและเป็นอันตรายต่อร่างกาย

  • ต้องวอร์มหรืออบอุ่นร่างกายก่อนออกกำลังกาย เพื่อเป็นการสร้างความพร้อมของร่างกายก่อนที่เราจะเริ่มออกกำลังกาย เพื่อลดการบาดเจ็บต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่าง และหลังจากออกกำลังกาย โดยใช้หลักค่อยเป็นค่อยไป ให้เริ่มจากยืดเหยียดร่างกายแล้ว ให้เดินก่อนประมาณ 7-8 นาที แล้วค่อยวิ่งช้าๆ ไปเรื่อยๆ ไม่จำเป็นต้องวิ่งเร็วหรือหักโหมจนเกินไป แต่ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ โดยเฉพาะโรคความดันโลหิต เบาหวาน และโรคหัวใจ ควรปรึกษาแพทย์และตรวจสุขภาพก่อน โดยเฉพาะการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจในขณะออกกำลังกาย หรือ Exercise Stress Test (EST)

    8. ความพอดี

  • รู้จัก "หลักความพอดี" ในทุกข้อที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ทั้งเรื่อง สุขภาพจิต อากาศ การดื่มน้ำ โภชนาการ การพักผ่อน และการออกกำลังกาย ให้ยึดหลัก "ทางสายกลาง" ทุกอย่างก็จะค่อยๆดีขึ้นเอง หลักของความพอดี อะไรก็แล้วแต่ ถ้ามากเกินไป หรือ น้อยเกินไป ก็จะส่งผลเสียต่อสุขภาพ
  • สรุปภาพรวมการดูแลสุขภาพเพื่อไม่ให้ป่วย เพื่อให้เข้าใจง่ายๆ ผมจะสรุปหลักการสำคัญมีเพียงแค่ 2 อย่าง คือ 1. การดูแลสุขภาพแบบบูรณาการ ได้แก่ การดูแลเรื่องสุขภาพจิต อากาศ น้ำ โภชนาการ การพักผ่อน การออกกำลังกาย และความพอดี อย่างที่กล่าวมาแล้ว 2. การเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า 2019 หรือโควิด-19 มีหลายๆ กรณีคนที่อยู่กับผู้ติดเชื้อโควิด-19 แต่กลับไม่มีการติดเชื้อ ปัจจุบันนักวิทยาศาตร์ก็กำลังสนใจศึกษาเรื่องนี้ หลักการที่ผมกล่าวมานี้อาจจะเป็นกรณีศึกษา และเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายได้อย่างยั่งยืน โดยไม่ต้องเดินตามเชื้อไวรัสตลอดเวลา แต่เป็นการฝึกให้ร่างกายได้เรียนรู้เกี่ยวกับการสร้างภูมิคุ้มกันที่ครอบคลุมทั้งในปัจจุบันและอนาคตให้กับร่างกายของเรา

    ทั้งหมดนี้ก็คือ เคล็ดลับในการดูแลสุขภาพเพื่อไม่ให้ป่วยและมีภูมิคุ้มกันของร่างกายมากกว่าคนทั่วไป นอกจากจะส่งผลดีทั้งทางร่างกายและจิตใจแล้ว ยังสามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายจากการรักษาพยาบาล การลงทุนในสุขภาพ ยังเป็นหลักประกันสุขภาพที่ดี และลดความเสี่ยงจากโรคต่างๆ ได้อีกด้วย นอกจากนี้ ผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุน ก็สามารถนำไปลงทุนต่อยอดขยายพอร์ตการลงทุนที่มีอยู่ให้ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เพื่อความมั่นคงทางการเงินในระยะยาว ควบคู่กับการมีอายุที่ยืนยาว เหนือสิ่งอื่นใด เมื่อเรามีความมั่นคงทางการเงิน และอายุที่ยืนยาวแล้ว ก็มีโอกาสสร้างบุญกุศลและทำประโยชน์ต่อสังคม และเศรษฐกิจ เป็นการสร้างประโยชน์ต่อทั้งตัวเราเองและผู้อื่น เป็นการลงทุนอย่างชาญฉลาด และมีประโยชน์อย่างบูรณาการ